วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปบทความ


เรื่องเวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

โดย  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ

    วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย เช่นเราจะรู้สึกว่าไม่มีความสุขหากอากาศร้อนมากวิทยาศาสตร์ช่วยให้เรามีพัดลมหรือแอร์ เราได้รับความบันเทิงทางเทคโนโลยีเช่นทีวี วิทยุ เป็นต้น เราสามารถเก็บข้อมูลได้มากมายเรียกใช้ข้อมูลประมวลความรู้และสื่อสารข้อมูลไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วจากเครื่องคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ช่ายให้เราเข้าใจตัวเองและโลกรอบตัว ความยิ่งใหญ่และความซับซ้อนของธรรมชาติทำให้เราพยายามอธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจและแสวงหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวในจักรวาล ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เราเกิดความตระหนักมากขึ้นและพยายามที่เขียนอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล
    เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรสามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้มากมาย กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น การสังเกต การจำแนกประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะแน และการสื่อสาร รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กสนใจวัตถุและเหตุการณ์ เด็กเล็กมีวิธีการเรียนรู้คล้ายนักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานด้วยทักษะการแสวงหาความรู้

    กิจกรรมวิทยาศาสตร์ในห้องเรียนเด็กปฐมวัยมีความสำคัญหลายประการดังนี้
     1.ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของตนเองและมีความกระตือรือร้น (คือเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้)
    2. ส่งเสริมการทำงานรายบุคคลและการคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาของเด็ก
    3. ยอมรับรูปแบบการเรียนรู้จากวัสดุอุปกรณ์ซึ่งจะช่วยสร้างประสบการณ์ที่เป็นธรรมชาติ การรับรู้และความพยายามของเด็กหลายคนจากการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีความสำคัญต่อการรับรู้ชีวิต เรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์การทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์
    4. เพื่อเป็นการช่วยอธิบายความเข้าใจด้วยตัวเองของเด็ก
    5. ดูแลเอาใจใส่ต่อพฤติกรรมของเด็กที่ปรากฎ เช่น การแสดงความกังวลใจ เด็กที่เกิดความเบื่อ
    6. กิจกรรมการค้นพบช่วยให้ผู้เรียนสนใจใฝ่รู้ อยากสืบค้นต่อไป
    7. ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทางสติปัญญาของเด็กจากการเรียนรู้ที่เด็กได้สัมผัสกับวัสดุอุปกรณ์ ทำให้เด็กมีแรงจูงใจในการทำกิจกรรมที่มีความยากขึ้น เด็กได้เรียนรู้ภาษาและเนื้อหาสาระแบบบูรณาการ เช่น วิธีการได้รับประสบการณ์ทางภาษาแบบธรรมชาติต่อการอ่าน วิธีการสอนแบบโครงการต่อการพัฒนาหลักสูตร การใช้ประสาทสัมผัส และการใช้กล้ามเนื้ออย่างเหมาะสมกับวั

วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุป วิจัย






ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

1.ทักษะการสังเกต หมายถึง ความสามารถในการบอกความแตกต่าง บอกลำดับวัตถุ จัดสิ่งของให้เป็นหมวดหมู่ โดยใช้เกณฑ์ในการจัดแบ่ง เช่น ความเหมือน ความต่าง หรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
2. ทักษะการจำแนกประเภท หมายถึง ความสามารถในการแบ่งพวก เรียงลำดับวัตถุโดยมีเกณฑ์ดั่งกล่าวอาจจะใช้ ความเหมือน ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
3. ทักษะการหามิติสัมพันธ์ หมายถึง ความสามารถในการบอกความสัมพันธ์ระหว่างมิติต่างๆของวัตถุ ได้แก่ รูปร่างหรือรูปทรง ขนาด ระยะเวลา ตำแหน่ง
4.  ทักษะการลงความเห็นข้อมูล หมายถึง ความสามารถในการอธิบายหรือแสดงความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผล ในการอธิบาย หรือสรุปผลจากข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัด การสัมผัส โดยใช้ความรู้หรือประสบการณ์เดิม
ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1. ความหมายและความสำคัญของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
2. ประเภทของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
3. ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
4. การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
5. ประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เรียนชดเชย

วันอาทิตย์ ที่ 29 กันยายน 2556   เวลาเรียน 09.00น. - 12.20 น

บรรยกาศในชั้นเรียน
วันนี้อาจารย์ได้นัดนักศึกษามาเรียนในห้องประชุมใต้ตึกคณะศึกษาศาสตร์ เพื่อนๆได้เข้าเรียนกันน้อยมาก แต่พอสายๆ เพื่อนๆก็เริ่มทยอนกันเข้าห้องเรียน จำนวนมาก แทบจะครบทุกคน เพราะเป็นคาบสุดท้ายของการเรียน การสอนในเทอมนี้แล้ว 
   
การเรียนการสอน
- อาจารย์ให้นักศึกษาทุกๆได้ออกไปนำเสอน เรื่องการทดลองวิทยาศาสตร์
- อาจารย์ก็ได้ Comment  และ แนะนำวิธีการพูด ที่จะสอนเด็กให้ถูกต้อง ว่ามีขั้นตอนอะไรบ้าง
 เช่น เราต้องใช้คำถามแบบไหนเพื่อให้เด็กได้คิด เพื่อได้คำตอบให้เรา
- อาจารย์ก็ให้นักศึกษาแต่ละคนได้ส่ง ผลงานของเล่น และของเล่นเข้ามุม


นำเสนอการทดลอง เหรียญลวงตา

วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556

การเข้าเรียน ครั้งที่ 16
วันพุธ ที่25 กันยายน 2556 เวลา 08.30-12.20 น.

บรรยากาศในชั้นเรียน
วันนี้ เพื่อนๆเข้าเรียนกันตรงเวลาอย่างพร้อมเพียงกัน แล้วอาจารย์ไ้ด้ให้เพื่อนลงไปเอากล่องสีที่โต๊ะอาจารย์ พวกเราได้ตั้งใจฟังอาจารย์อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย

องค์ความรู้ที่ได้รับ
-อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนได้สรุปองค์ความรู้ที่ได้เรียนวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-ให้ออกแบบตามความคิดสร้างสสรค์ของนักศึกษา เพราะอาจารย์จะปิด Course สัปดาห์นี้เป็น Course สุดท้าย
การเข้าเรียนครั้งที่ 15
วันพุธ ที่ 18 กันยายน 2556 เวลา 08.30น. - 12.20 น.


บรรยากาศในชั้นเรียน
อาจารย์ให้จัดโต๊ะเป็นครึ่งวงกลม เพื่อที่จะได้ทำกิจกรรมได้ วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเตรียมอุปกรณ์ เพื่อเราจะได้ทำอาหารกัน เมนูวันนี้คือการทำไข่ตุ๋น เพื่อนๆต่างก็เตรียมอุปกรณ์กันมาครบกันทุกคน

องค์ความรู้ที่ได้รับ
-ได้นำอุปกรณ์ต่างๆวางหน้าชั้นเรียน เพื่อเตรียมทำ cooking
-แล้วได้มีการถามเด็กว่าเห็นอะไรที่ครูนำมาวันนี้ แล้วเด็กๆคิดว่าครูจะพาทำอะไร
-ครูเริ่มแนะนำอุปกรณ์และวัตถุดิบให่เด็กรู้จัก
-ครูให้เด็กอาสาสมัครออกมาหั่นผัก ได้แก่ ผักชี ต้นหอม และแครอท
-แล้วให้เด็กๆลงมือในการทำไข่ตุ๋น โดยการตีไข่ให้เข้ากัน ใส่แครอท ผักชี ต้นหอมและปูอัดลงในถ้วย
-จากนั้นนำถ้วยไข่ตุ๋นใส่ในหม้อนึ่ง รอประมาณ 15-20 นาที


การเรียนชดเชย

วันอาทิตย์ ที่ 15 กันยายน 2556 เวลา 09.00-12.00 น.

บรรยากาศในชั้นเรียน
วันนี้อาจารย์นัดสอนชดเชย เพื่อนๆมาเรียนเรียนกันน้อยมาก แล้วก็เริ่มทยอนกันเข้ามา วันนี้แอร์หนาวมาก และอาจารย์ได้เอาคะแนน blogger มาให้ดู ว่าจากที่อาจารย์ได้ตรวจดูแล้ว เราควรจะเพิ่มเติม หรือแก้ไขตรงไหนบ้าง และอาจารย์ได้ได้แนะนำอาจารย์คนใหม่ ชื่ออาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น
 
องค์ความรู้ที่ได้รับ
-อาจารย์ตฤณ ให้นักศึกษาจัดโต๊ะเรียนใหม่ให้ขยับโต๊ะ ออกไปเพื่อให้นักษาศึกษานั่งทำงานที่พื้นได้
-ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 7 คน แล้วไปหยิบกระดาษ กลุ่มละ 4 แผ่น พร้อมสี
-เราจะเรียนในเรื่องการทำอาหารที่เหมาะสำหรับเด็ก
โดยกลุ่ม ที่1  สอนการทำต้มจืด
      กลุ่มที่2 สอนการทำไข่ตุ๋น
      กลุ่มที่ 3 สอนการทำข้าวผัดอเมริกัน
      กลุ่มที่ 4 สอนการทำไข่เจียว
-จากนั้นให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานหน้าชั้นเรียน