วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปบทความ


เรื่องเวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

โดย  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ

    วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย เช่นเราจะรู้สึกว่าไม่มีความสุขหากอากาศร้อนมากวิทยาศาสตร์ช่วยให้เรามีพัดลมหรือแอร์ เราได้รับความบันเทิงทางเทคโนโลยีเช่นทีวี วิทยุ เป็นต้น เราสามารถเก็บข้อมูลได้มากมายเรียกใช้ข้อมูลประมวลความรู้และสื่อสารข้อมูลไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วจากเครื่องคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ช่ายให้เราเข้าใจตัวเองและโลกรอบตัว ความยิ่งใหญ่และความซับซ้อนของธรรมชาติทำให้เราพยายามอธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจและแสวงหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวในจักรวาล ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เราเกิดความตระหนักมากขึ้นและพยายามที่เขียนอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล
    เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรสามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้มากมาย กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น การสังเกต การจำแนกประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะแน และการสื่อสาร รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กสนใจวัตถุและเหตุการณ์ เด็กเล็กมีวิธีการเรียนรู้คล้ายนักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานด้วยทักษะการแสวงหาความรู้

    กิจกรรมวิทยาศาสตร์ในห้องเรียนเด็กปฐมวัยมีความสำคัญหลายประการดังนี้
     1.ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของตนเองและมีความกระตือรือร้น (คือเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้)
    2. ส่งเสริมการทำงานรายบุคคลและการคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาของเด็ก
    3. ยอมรับรูปแบบการเรียนรู้จากวัสดุอุปกรณ์ซึ่งจะช่วยสร้างประสบการณ์ที่เป็นธรรมชาติ การรับรู้และความพยายามของเด็กหลายคนจากการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีความสำคัญต่อการรับรู้ชีวิต เรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์การทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์
    4. เพื่อเป็นการช่วยอธิบายความเข้าใจด้วยตัวเองของเด็ก
    5. ดูแลเอาใจใส่ต่อพฤติกรรมของเด็กที่ปรากฎ เช่น การแสดงความกังวลใจ เด็กที่เกิดความเบื่อ
    6. กิจกรรมการค้นพบช่วยให้ผู้เรียนสนใจใฝ่รู้ อยากสืบค้นต่อไป
    7. ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทางสติปัญญาของเด็กจากการเรียนรู้ที่เด็กได้สัมผัสกับวัสดุอุปกรณ์ ทำให้เด็กมีแรงจูงใจในการทำกิจกรรมที่มีความยากขึ้น เด็กได้เรียนรู้ภาษาและเนื้อหาสาระแบบบูรณาการ เช่น วิธีการได้รับประสบการณ์ทางภาษาแบบธรรมชาติต่อการอ่าน วิธีการสอนแบบโครงการต่อการพัฒนาหลักสูตร การใช้ประสาทสัมผัส และการใช้กล้ามเนื้ออย่างเหมาะสมกับวั

วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุป วิจัย






ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

1.ทักษะการสังเกต หมายถึง ความสามารถในการบอกความแตกต่าง บอกลำดับวัตถุ จัดสิ่งของให้เป็นหมวดหมู่ โดยใช้เกณฑ์ในการจัดแบ่ง เช่น ความเหมือน ความต่าง หรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
2. ทักษะการจำแนกประเภท หมายถึง ความสามารถในการแบ่งพวก เรียงลำดับวัตถุโดยมีเกณฑ์ดั่งกล่าวอาจจะใช้ ความเหมือน ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
3. ทักษะการหามิติสัมพันธ์ หมายถึง ความสามารถในการบอกความสัมพันธ์ระหว่างมิติต่างๆของวัตถุ ได้แก่ รูปร่างหรือรูปทรง ขนาด ระยะเวลา ตำแหน่ง
4.  ทักษะการลงความเห็นข้อมูล หมายถึง ความสามารถในการอธิบายหรือแสดงความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผล ในการอธิบาย หรือสรุปผลจากข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การวัด การสัมผัส โดยใช้ความรู้หรือประสบการณ์เดิม
ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1. ความหมายและความสำคัญของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
2. ประเภทของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
3. ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
4. การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
5. ประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เรียนชดเชย

วันอาทิตย์ ที่ 29 กันยายน 2556   เวลาเรียน 09.00น. - 12.20 น

บรรยกาศในชั้นเรียน
วันนี้อาจารย์ได้นัดนักศึกษามาเรียนในห้องประชุมใต้ตึกคณะศึกษาศาสตร์ เพื่อนๆได้เข้าเรียนกันน้อยมาก แต่พอสายๆ เพื่อนๆก็เริ่มทยอนกันเข้าห้องเรียน จำนวนมาก แทบจะครบทุกคน เพราะเป็นคาบสุดท้ายของการเรียน การสอนในเทอมนี้แล้ว 
   
การเรียนการสอน
- อาจารย์ให้นักศึกษาทุกๆได้ออกไปนำเสอน เรื่องการทดลองวิทยาศาสตร์
- อาจารย์ก็ได้ Comment  และ แนะนำวิธีการพูด ที่จะสอนเด็กให้ถูกต้อง ว่ามีขั้นตอนอะไรบ้าง
 เช่น เราต้องใช้คำถามแบบไหนเพื่อให้เด็กได้คิด เพื่อได้คำตอบให้เรา
- อาจารย์ก็ให้นักศึกษาแต่ละคนได้ส่ง ผลงานของเล่น และของเล่นเข้ามุม


นำเสนอการทดลอง เหรียญลวงตา

วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556

การเข้าเรียน ครั้งที่ 16
วันพุธ ที่25 กันยายน 2556 เวลา 08.30-12.20 น.

บรรยากาศในชั้นเรียน
วันนี้ เพื่อนๆเข้าเรียนกันตรงเวลาอย่างพร้อมเพียงกัน แล้วอาจารย์ไ้ด้ให้เพื่อนลงไปเอากล่องสีที่โต๊ะอาจารย์ พวกเราได้ตั้งใจฟังอาจารย์อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย

องค์ความรู้ที่ได้รับ
-อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนได้สรุปองค์ความรู้ที่ได้เรียนวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-ให้ออกแบบตามความคิดสร้างสสรค์ของนักศึกษา เพราะอาจารย์จะปิด Course สัปดาห์นี้เป็น Course สุดท้าย
การเข้าเรียนครั้งที่ 15
วันพุธ ที่ 18 กันยายน 2556 เวลา 08.30น. - 12.20 น.


บรรยากาศในชั้นเรียน
อาจารย์ให้จัดโต๊ะเป็นครึ่งวงกลม เพื่อที่จะได้ทำกิจกรรมได้ วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเตรียมอุปกรณ์ เพื่อเราจะได้ทำอาหารกัน เมนูวันนี้คือการทำไข่ตุ๋น เพื่อนๆต่างก็เตรียมอุปกรณ์กันมาครบกันทุกคน

องค์ความรู้ที่ได้รับ
-ได้นำอุปกรณ์ต่างๆวางหน้าชั้นเรียน เพื่อเตรียมทำ cooking
-แล้วได้มีการถามเด็กว่าเห็นอะไรที่ครูนำมาวันนี้ แล้วเด็กๆคิดว่าครูจะพาทำอะไร
-ครูเริ่มแนะนำอุปกรณ์และวัตถุดิบให่เด็กรู้จัก
-ครูให้เด็กอาสาสมัครออกมาหั่นผัก ได้แก่ ผักชี ต้นหอม และแครอท
-แล้วให้เด็กๆลงมือในการทำไข่ตุ๋น โดยการตีไข่ให้เข้ากัน ใส่แครอท ผักชี ต้นหอมและปูอัดลงในถ้วย
-จากนั้นนำถ้วยไข่ตุ๋นใส่ในหม้อนึ่ง รอประมาณ 15-20 นาที


การเรียนชดเชย

วันอาทิตย์ ที่ 15 กันยายน 2556 เวลา 09.00-12.00 น.

บรรยากาศในชั้นเรียน
วันนี้อาจารย์นัดสอนชดเชย เพื่อนๆมาเรียนเรียนกันน้อยมาก แล้วก็เริ่มทยอนกันเข้ามา วันนี้แอร์หนาวมาก และอาจารย์ได้เอาคะแนน blogger มาให้ดู ว่าจากที่อาจารย์ได้ตรวจดูแล้ว เราควรจะเพิ่มเติม หรือแก้ไขตรงไหนบ้าง และอาจารย์ได้ได้แนะนำอาจารย์คนใหม่ ชื่ออาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น
 
องค์ความรู้ที่ได้รับ
-อาจารย์ตฤณ ให้นักศึกษาจัดโต๊ะเรียนใหม่ให้ขยับโต๊ะ ออกไปเพื่อให้นักษาศึกษานั่งทำงานที่พื้นได้
-ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 7 คน แล้วไปหยิบกระดาษ กลุ่มละ 4 แผ่น พร้อมสี
-เราจะเรียนในเรื่องการทำอาหารที่เหมาะสำหรับเด็ก
โดยกลุ่ม ที่1  สอนการทำต้มจืด
      กลุ่มที่2 สอนการทำไข่ตุ๋น
      กลุ่มที่ 3 สอนการทำข้าวผัดอเมริกัน
      กลุ่มที่ 4 สอนการทำไข่เจียว
-จากนั้นให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานหน้าชั้นเรียน




การเข้าเรียน ครั้งที่ 14

วันพุธ ที่ 11 กันยายน 2556   เวลา 08.30น. - 12.20 น

**ไม่มีการเรียน การสอน 
เพราะว่าอาจารย์ติดธุระทางราชการ
-อาจารย์ได้มอบหมายให้ไปรวบรวมรูปภาพ และเอกสารการไปศึกษาดูงานให้เรียบร้อย
การเข้าเรียน ครั้งที่ 13

วันพุธ ที่ 4 กันยายน 2556 เวลาเรียน 08.30น. - 12.20 น



**ไม่มีการเรียนการสอน 
อาจารย์ติดภาระกิจทางราชการ
- อาจารย์มอบหมายให้ไปทำ blogger ให้เรียบร้อย 
การเข้าเรียน ครั้งที่ 12
วันพุธ ที่ 28 สิงหาคม 2556 เวลา 08.30น. - 12.20 น.



ไปศึกษาดูงาน 
ที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 
เเละโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์ เราออกเดินมทางตั้งเเต่วันที่ 27-28 เดือนสิงหาคม 2556

สรุปองค์ความรู้จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา



สรุปองค์ความรู้จากโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา




การเข้าเรียน ครั้งที่ 11
วันพุธ ที่ 21 สิงหาคม 2556 เวลา 08.30-12.20 น.

ไม่มีการเรียน การสอน

**อาจารย์ได้มอบหมายงานที่จะต้องทำ
-ศึกษาข้อมูลที่เราจะไปศึกษาดูงาน ในวันที่ 27-28 สิงหาคม 2556 นี้
-ให้ไปปรับเปลี่ยนแก้ไข สื่อของเล่นวิทยาศาสตร์ ของเล่นเข้ามุม และการทดลอง ของใครที่ซ้ำกับเพื่อนก็ให้ไปเปลี่ยน
-ให้ไปทดลองทำว่าวใบไม้

ความรู้ใหม่ 

อาจารย์วีระ แจ่มใส ผู้เชี่ยวชาญด้านว่าวไทยและเป็นครูภูมิปัญญาด้านนี้รักและผูกพันกับ "ว่าว" มาตั้งแต่เป็นเด็ก เริ่มต้นจากเป็นเด็กวิ่งเก็บว่าวตามท้องสนามหลวง นำว่าวที่เก็บได้มาสังเกตการทำโครงว่าวแบบต่างๆ ตั้งใจศึกษาค้นคว้าและฝึกทำด้วยตนเองเรื่อยมาจนเชี่ยวชาญ สามารถทำว่าวส่งประกวดระดับประเทศและเป็นอาชีพสร้างรายได้ให้ครอบครัว ทุกวันนี้อาจารย์วีระยังคงมุ่งมั่นทำสิ่งที่รักด้วยความตั้งใจอยากจะถ่ายทอดการละเล่นพื้นบ้านของไทยให้เด็กรุ่นใหม่
การทำว่าวช่วยทำให้เด็กๆ มีสมาธิมากขึ้น เขาได้ฝึกทักษะหลายอย่าง ทั้งการคิด สังเกต ความประณีต อะไรที่เรามองว่ามันเป็นสิ่งเล็กๆ น้อยๆ อย่างการติดกระดาษ แต่เด็กๆ เขาตั้งใจทำ" อาจารย์วีระกล่าวถึงเด็กๆ ซึ่งมีท่าทางจดจ่ออยู่กับการทำว่าวของตนเอง ส่วนหนึ่งเพราะเด็กๆ อยากจะให้ว่าวของตัวเองเล่นได้ดีไม่แพ้เพื่อนๆ นั่นเอง
การเข้าเรียนครั้ง ที่ 10 
 วันพุธ ที่ 14 สิงหาคม 2556 เวลา 08.30-12.20 น.

บรรยากาศในชั้นเรียน
วันนี้เพื่อนๆเข้าเรียนกันครบถ้วน นั่งเป็นระเบียบเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอนมากเป็นพิเศษ เพราะวันนี้อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องที่เราจะไปศึกษาดูงานเป็นครั้งสุดท้ายเพราะอีกไม่กี่วันเราก็จะออกเดินทางกันแล้ว เพื่อเตรียมความพร้อม ให้พร้อมมากที่สุด

องค์ความรู้ที่ได้รับ
-อาจารย์ได้พูดถึงโรงเรียนสาธิตโคราชว่าการเรียนการสอนเขาเป็นไรอย่างแล้วแบบประเมินอะไรหลายๆอย่างเป็นอย่างไรกันแล้วคลึบหน้าไปถึงไหนกันแล้ว
-แล้วอาจารย์ได้พูดถึงการเตรียมตัวเตรียมอุปกรณ์ของใช้ส่วนตัวที่เราต้องจัดเตรียมเอง
-แล้วอาจารย์ได้ตรวจ blogger  นักษาศึกแต่ละคนว่าจะต้องไปปรับเปลี่ยนอะไรกันบ้าง
-ท้ายคาบพวกเราได้ศึกษาหารือกันภายในห้อง และแบ่งหน้าที่กันเป็นกลุ่มที่ต้องรับผิดชอบ ในแต่ละฝ่าย



วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

การเข้าเรียน ครั้งที่ 9




วันพุธที่ 7 สิงหาคม 2556 เวลา 08.30น. - 12.20 น.



บรรยากาศในชั้นเรียน

เพื่อนๆในชั้นเรียนก็ได้ทยอนๆกันเข้ามาเรียน แล้วอาจารย์ได้พูดถึงเรื่องที่เราจะไปศึกษาดูงานกัน ได้พูดคุยและเเสนอแนะในเรื่องต่างๆ ทำให้เสียงดังบาง แต่ก็ตกลงกันได้

องค์ความรู้ที่ได้รับ
-ในการไปศึกษาดูงาน ที่โรงเรียนสาธิตโคราช และโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาที่บุรีรัมย์
อาจารย์ได้มอบหมายให้แต่คนละแบ่งหน้าที่กันว่าแต่ละคนจะมีหน้าที่อะไรกันบ้าง แล้วให้ทุกคนไปศึกษาข้อมูลในแต่ละโรงเรียนว่าเขามีแนวการสอนเป็นอย่างไร เพื่อว่าถ้าเราได้ไปแล้ว เราจะได้มีพื้นฐานข้อมูลที่เราจะสงสัยนอกเหนือจากข้อมูลของเราที่เรามี



การเข้าเรียนครั้งที่ 8

วันพุธ ที่ 30 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2556 เวลา 08:30-12:20 น. 




อยู่ในช่วงสอบปลายภาค 

ในระหว่างวันที่ 30 เดือนกรกฏาคม พ.ศ.2556 ถึง วันที่ 7 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556


วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่  7

วันพุธ ที่24 กรกฎาคม 2556   เวลา 08.30-12.20 น.

องค์ความรู้ที่ได้รับ

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
กระบวนการเบื้องต้นได้แก่
มีการสังเกต
การวัด
การจำแนกประเภท
การหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา
การสื่อความหมาย

เรื่องการสอนแบบโครงงาน หรือ Project Approach    จะมี 5 ลักษณะ
1. อภิปราย
2. นำเสนอประสบการณ์เดิม
3. การทำงานภาคสนาม
4. สืบค้น
5. การจัดแสดง

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเข้าเรียน ครั้ง  6 


ที่ 17 กรกฎาคม 2556             เวลา 08.30-12.20 น.

 ***ไม่มีการ การสอน

- อาจารย์ได้มอบหมายให้ไปหาสื่อวิทยาศาสตร์ อันที่เหลือให้มาขึ้นที่บล็อก Blogger ให้เสร็จ
จะมีทั้งหมด 2 ชิ้นด้วยกัน คือ การทดลองวิทยาศาสตร์ และของเล่นเข้ามุม
- แต่ถ้าเพื่อนคนไหนที่ยังหาของเล่นวิทยาศาสตร์ได้แล้วก็ให้โพส ขึ้น Blogger ได้เลย

การทดลองวิทยาศาสตร์

เหรียญลวงตา


สิ่งที่ต้องใช้  
                        1.         
เหรียญบาท เหรียญ
                        2.         
จานทึบแสง ใบ
                        3.         
โต๊ะ
                        4.         
เทปกาว
วิธีทดลอง           
  • วางเหรียญบาทลงในจาน แล้วนำจานไปวางบนโต๊ะ
  • จ้องมองที่เหรียญบาทไว้พร้อมกับเดินถอยหลังช้าๆ จนขอบจานบังเหรียญจนมองไม่เห็น หยุดตรงตำแหน่งนั้นและติดเทปทำเครื่องหมายไว้บนพื้น
  • ใส่น้ำลงไปให้เต็มจาน
  • กลับไปยืนในตำแหน่งเดิมที่เราติดเทปไว้อีกครั้งหนึ่ง ลองมองซิเห็นเหรียญหรือเปล่า?

เพราะอะไรกันนะ
            ตำแหน่งที่เราติดเทปไว้คือตำแหน่งที่มองไม่เห็นเหรียญ..แล้วทำไมเมื่อเติมน้ำจึงมองเห็นได้?
คำเฉลยคือ การหักเหของแสง” นั่นเอง หลักการมองเห็นของดวงตา คือ เมื่อแสงตกกระทบวัตถุแล้วสะท้อนมาเข้าตาเรา ทำให้เราเห็นภาพนั้นๆ แต่ถ้าเรามองสิ่งที่อยู่ใต้น้ำ เช่น ปลา เราจะมองเห็นมันอยู่ผิดไปจากตำแหน่งจริง เพราะแสงจะมีมุมในการหักเหเปลี่ยนไปเมื่อผ่านจากน้ำไปสู่อากาศ และการหักเหของแสง ยังทำให้เราเห็นน้ำตื้นกว่าความเป็นจริง
เมื่อใส่น้ำลงไปในจาน น้ำจะหักเหแสงที่สะท้อนจากเหรียญบาทมายังตาของเรา แสงทำให้เห็นน้ำตื้นกว่าความเป็นจริงเราจึงมองเห็นเหรียญได้ ณ ตำแหน่งเดิม 




ของเล่นเข้ามุม



กระป๋องบูมเมอแรง



อุปกรณ์
1.กระป๋อง 2.ไม้จิ้มฟัน

3.หนังยาง 4.น็อตตัวกลม

5.คลิปหนีบกระดาษ 6.ตะปู

วิธีทำ

1.นำกระป๋องกลมมาเจาะรูที่ฝากระป๋องกว้างประมาณ 1 นิ้ว

2.นำยางเส้น หนาๆที่ยาวเท่ากับความยาวของกระป๋อง มาร้อยผ่านรูทั้งสองแล้วกลัดปลายยางแต่ละข้างไว้ด้วยเข็มหมุดให้ตึง

3.จากนั้นเจาะรูตรงกลาง เส้นยางที่อยู่กลางกระป๋องแล้วแขวน แม่กุญแจเล็ก ๆ ไว้ตรงกลางเส้นยาง

4.เมื่อกลิ้งกระป๋องไปข้างหน้า มันจะกลิ้งต่อไปสักระยะหนึ่งแล้วกลิ้งกลับมาที่เดิม

กฎทางวิทยาศาสตร์ เพราะ แรงดึงดูดของโลกถ่วงแม่กุญแจไม่ให้หมุนไปตามกระป๋อง จึงทำให้ยางบิดเป็นเกลียว ทุกครั้งที่กระป๋องกลิ้งไปข้างหน้า และเมื่อเกลียวบิดไปจนถึงจุดหนึ่ง ยางในกระป๋องจะคลายตัว ทำให้เกิดการบิดกลับและผลักกระป๋องกลับมายังทิศทางเดิม
การเข้าเรียน ครั้งที่ 5 

วันพุธ ที่ 10 กรกฎาคม 2556         เวลา 08.30-12.20 น

องค์ความรู้ที่ได้รับ

 -อาจารย์ได้ให้นักศึกษาออกไปพรีเซ็นต์งาน ของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก จากวัสดุเหลือใช้
- และอาจารย์ได้ comment นักศึกษาว่าควรจะปรับปรุงแก้ไขอะไรบ้าง
- ดิฉันได้ออกไปคนที่ 2   ของเล่นคือ  แก้วเลียนเสียงสัตว์ 







วัสดุ : ขวดพลาสติก, ไหมพรม 
อุปกรณ์ : ตะปู, กรรไกร
วิธีการทำ
1. นำขวดพลาสติกมาตัดครึ่ง
2. เจาะรูใต้ขวด 1 รู
3. สอดเชือกไหมพรมใส่รูแล้วมัดปม

จุดมุ่งหมาย
เพื่อส่งเสริมทักษะการฟัง และเกิดกระบวนการคิด ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน 
วิธีใช้ : นำเชือกไปจุ่มน้ำ แล้วดึงเชือกให้เป็นเสียงต่างๆ เช่น เสียงไก่ เสียงตุ๊กแก

สิ่งที่เด็กจะได้รับ : ด้านร่างกาย พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กในการดึงเชือกเป็นจังหวะ
ด้านอารมณ์ – จิตใจ มีความสุขกับการเล่น
ด้านสังคม -ได้แลกเปลี่ยนการเล่น ทำให้เพื่อนดู
ด้านสติปัญญา -ฝึกทักษะกระบวนการคิดเสียงใหม่ๆ

หลักทางวิทยาศาสตร์  เสียงเกิดขึ้นนั้นมาจากการสั่นสะเทือนที่ถูกขัดถู เมื่อคลื่นเสียงเคลื่อนที่ไปจนถึงสุดปลายของตัวกลางและพบกับตัวกลางที่มีความหนาแน่นกว่า คลื่นเสียงจะเกิดการสะท้อนกลับมายังแหล่งกำเนิดเสียงอันเป็นไปตามกฎการสะท้อน





-

วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


การเข้าเรียนครั้งที่ 4

. วันพุธ ที่ 3 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2556  เวลาเรียน 08:30-12:20 น

บรรยากาศในชั้นเรียน
วันนี้อาจารย์ได้เข้าสอนตามปกติ และอาจารย์ได้พูดถึงเรื่องการแต่งการของนักศึกษาไม่เรียบร้อย การใช้โทรศัทพ์มือถือในห้องเรียนไม่เป็นเวลา ไม่ให้เกีรยติครูผู้สอนจะต้องให้นักศึกษาฝึกจนเป็นนิสัยว่าควรประพฤติอย่างไรในห้องเรียน  

การเรียน การสอน
- อาจารย์ได้นำของเล่นชิ้นหนึ่งมาให้ดูแล้วสังเกตว่าลักษณะอย่างไรมองเห็นอะไรอยู่ไหนนั้น บางคนก็มองเห็น บางคนก็มองไม่เห็น อาจารย์เลยบอกว่าของเล่นวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อว่า "กระบอกลุกปิงปอง
วิธีเล่น จะต้องเอียงแล้วค่อยๆเทลง แล้วจะเห็นลูกปิงปอง
- แล้วอาจารย์ได้แจกกระดาษ A4คนละแผ่นให้ทับเป็นรูปสี่เหลี่ยมให้ได้12 ช่องแล้วตัดตามช่องทำเป็นสมุดเล่มเล็ก
-จากนั้นให้วาดรูปอะไรก็ได้ขึ้นมา 1 รูป ในหน้าที่ 2 จะต้องเป็นเหมือนรูปแรกแต่ต้องเติมภาพลงไปเลื่อย จนถึงแผ่นที่ 8 ก็จะได้ภาพที่สมบูรณ์
-อาจารย์ได้เปิด VCD เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำให้ดู

สิ่งที่ได้รับ
น้ำเป็นสิ่งที่สำคัญต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
จากการทดลอง นำแอปเปิ้ลมาปั่น แล้วบีบเนื้อออกจะมีน้ำไหลออกมา จะเห็นได้ว่าส่วนประกอบของมนุษย์จะมี น้ำอยู่ถึง 70 % ของร่างกาย  และในผักผลไม้มีอยู่ 90 %
ฝนตกเกิดจากอะไร
น้ำมีอยู่ 3 สถานะ คือ น้ำแข็ง น้ำเหลว และก๊าซ  จากการทดลองเมื่อต้มน้ำแข็งให้เดือนน้ำแข็งก็จะละลายเป็นน้ำเหลวก็จะกลายเป็นไอน้ำ         





การเข้าเรียน ครั้งที่ 3

วันพุธ  ที่  26  มิถุนายน 2556   เวลา 08.30 -12.20 น.

บรรยากาศในห้องเรียน

วันนี้อาจารย์เข้าสอนช้ากว่าปกติ เพราะอาจารย์ติดประชุม และเพื่อนๆก็พากันมาน้อยทำให้วุ่นวายบ้างเสียงดังบ้าง แล้วอาจารย์โทรหาสั่งให้เพื่อนลงไปเอา VCD มาเปิดดูรออาจารย์แล้วให้สรุป

การเรียนการสอน
- อาจารย์ให้ดู VCD เรื่องความลับของแสง  แล้วให้จดสรุปเนื้อหาสาระทีสำคัญ
แสงสว่ง  
ช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ เพราะลำแสงส่องมาถูกกับวัตถุจึงทำให้เรามองเห็นได้
คุณสมบัติของแสง
มีวัตถุโปรงแสง
วัตถุโปรงใส
วัตถุทึบแสง
การสะท้อนแสง
คือคลื่นแสงจะฉายแสงจะสะท้อนกลับมาขึ้นมาเส้นตรงเหมือน ถ้าเราเฉียงของลำแสง แสงก็จะสะท้อนเฉียงตามลำแสง  เช่น การวางมุมกระจก เพื่อทำให้ภาพของวัตถุนั้นเพิ่มจำนวนมากขึ้น
การหักเหของลำแสง
จะทำให้เกิดรุ่งกินน้ำได้
สรุปได้ดังนี้




- แล้วอาจารย์ก็ได้ มาถามว่าเมื่อเราดู VCD  จบอาจารย์ก็อธิบายในเนื้อหาว่าว่าอย่างไรแล้วได้อะไรบ้าง ในเนื้อหามีอะไรที่สำคัญบ้าง แล้วให้นักศึกษาช่วยกันคิดแสดงความคอดเห็นร่วมกัน



วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 2

วันพุธที่ 19 มิถุนายน 2556 เวลาเรียน 08.30น.- 12.20น.

บรรยากาศในชั้นเรียน

วันนี้อาจารย์ก็ได้เช็คชื่อตามปกติ แล้วเพื่อนๆก็พากันทยอนกันมาเรื่อยๆทำให้ขาดสมาธิในการฟังอาจารย์สอนบ้าง และอาจารย์ก็ได้ขาดช่วงสอนด้วย จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 6
คนแล้วนั่งเป็นกลุ่ม ขณะที่จัดกลุ่มก็ค่อนข้างเสียงดังกันบ้าง

การเรียนการสอน

- อาจารย์ให้นั่งเป็นกลุ่ม แล้วอาจารย์ให้ซีดใบงานแต่ละกลุ่ม กลุ่มละหนึ่งหัวข้อ
1. ความหมายวิทยาศาสตร์
2. ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
3. พัฒนาการทางด้านสติปัญญา
4. การเรียนรู้
5. เเนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
6. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
-ให้ทำาความเข้าใจแล้วสรุปภายในกลุ่ม
- จากนั้นก็ให้แต่กลุ่มให้ส่งตัวแทนเพื่อแลกข้อมูลกันของแต่ละกลุ่ม แล้วให้ออกไปนำเสนอ ความต่างและความเหมือนในแต่ละหัวข้อ

องค์ความรู้ที่ได้

-ความหมายของวิทยาศาสตร์ 
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เกรก บอกว่า 5 ประการ
 1. การเปลี่ยนแปลง เช่น เวลา น้ำหนัก
2. ความแตกต่าง โดยอาศัยการสังเกต
3. การปรับตัว คือการปรับตัวเข้ากับสังคม
4. การพึ่งพาอาศัย
5. ความสมุดล

5อย่างนี้จะช่วยให้ครูเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของวิชาและให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้ตามธรรมชาติ

วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การเข้าเรียน ครั้งที่1

วันพุธ ที่ 12 มิถุนายน 2556  เวลา 08.30-12.20 น.

บรรยากาศในชั้นเรียน

วันนี้เป็นแคบแรกที่เรียนวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อนๆได้มากันครบทุกคนอาจารย์ก็ได้เข้าสอนตรงเวลา และอาจารย์ก็ได้ร่วมกันสร้างข้อตกลงในการเรียนร่วมกับนักศึกษา

การเรียนการสอน
-อาจารย์ได้พูดถึงนักศึกษาคนใดที่ติด I หรือติด F ให้รีบไปติดต่อเพื่อตามแก้กับอาจารย์ถ้าค้างไว้นานจะไม่เป็นผลดีแก่นักศึกษา และคนไหนที่ติด I กับอาจารย์อาจารย์ได้นัดให้ไปพบที่ห้องทุกวันในเวลา ห้าโมงเย็น
-พูดถึงเรื่องการทำบล็อก เพราะถ้าเรียนกับอาจารย์ จะต้องทำบล็อก เพื่อเราจะได้ทำเป็น ที่เก็บข้อมูลของเราได้
-ได้อธิบายรายละเอียดใน Course Syllabus ของรายวิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
-เราได้สร้างข้อตกลงการเรียนวิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.ทุกครั้งที่เรียนจะตรวจสอบรายชื่อและการแต่งกายทุกครั้ง
2.ไม่ใช้โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์สื่อสารอื่นใดในเวลาเรียน
3.มาเรียนเกิน 15 นาทีจะถือว่ามาสาย สาย 3 ครั้ง ถือว่าเป็นขาด 1 ครั้ง
4.งานที่มอบหมายต้องส่งตรงตามเวลาที่กำหนด
5.งานกลุ่มต้องปฏิบัติตามเกณฑ์โดยเคร่งครัด
6.ปฏิบัติตนเป็นนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัยที่ดี